เจโทร ลุยต่อครั้งที่3ออนไลน์ จับคู่เจรจาธุรกิจวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ (ในประเทศ - ต่างประเทศ)

เจโทร เดินหน้าจัดงานเจรจาธุรกิจวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นครั้งที่ 3ต่อเนื่อง เผยผลสำเร็จที่ผ่านมา2 ครั้ง ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 578 ล้านบาท ดันการส่งออกสินค้าการเกษตร ประมง และวัตถุดิบอาหารมาประเทศไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าสูงถึงประมาณ 11,400 ล้านบาท ปลายปี 2564

ปี 2564 เป็นปีแรกที่ประเทศญี่ปุ่นมียอดการส่งออกสินค้าการเกษตร ประมง และวัตถุดิบอาหารมากกว่า 1 ล้านล้านเยน (ประมาณ 284,900 ล้านบาท มูลค่ารวมตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน คิดเป็น 1,077,900 ล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 26.8%) และมียอดส่งออกมายังประเทศไทยรวม 40,100 ล้านเยน (ประมาณ 11,400 ล้านบาท) เป็นยอดรวมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเทียบเท่ากับยอดรวมทั้งปีของปี 2563

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ได้จัดงานเจรจาธุรกิจออนไลน์อาหารและวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น “JETRO Online Business Matching & Exhibition of Japanese Food Products 2021” ทั้งหมด 3 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2564 ของญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายช่องทางการตลาดให้กับผู้ส่งออกสินค้าอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้งานเจรจาธุรกิจครั้งที่ 3 กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีผู้ประกอบการญี่ปุ่นเข้าร่วมกว่า 135 บริษัทจาก 40 จังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น และคาดการณ์การจับคู่เจรจาธุรกิจกว่า 174 คู่เจรจา มีสินค้าหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว อาหารทะเล ชา เครื่องปรุง ขนม เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผลจากการจัดงานเจรจาธุรกิจในครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมและเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดมูลค่าการซื้อขาย(รวมยอดประมาณการณ์) กว่า 2,000 ล้านเยน (ประมาณ 578 ล้านบาท) คิดเป็น 5% ของมูลค่าการส่งออกวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นมายังประเทศไทยในปี 2563 ซึ่งมีมูลค่า 40,100 ล้านเยน (ประมาณ 11,400 ล้านบาท)

แม้ว่าด้วยสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิดในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ เจโทรมุ่งมั่นที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านงานเจรจาธุรกิจออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารจากญี่ปุ่นมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดงานครั้งนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

งานเจรจาธุรกิจครั้งที่ 3 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มกราคม 2564) ชื่องาน JETRO Online Business Matching & Exhibition
of Japanese Food Products 2021 จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ระยะเวลาวันที่ 7 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 จัดแสดงตัวอย่างสินค้าถึงเดือนมีนาคม 2565 จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เข้าร่วมโครงการ: 135 บริษัท จำนวนผู้ประกอบการในประเทศไทย: 90 บริษัท จำนวนคู่เจรจาธุรกิจ: 174 คู่เจรจา เจรจาธุรกิจผ่านโปรแกรม zoom (พร้อมล่ามไทย-ญี่ปุ่นทุกคู่เจรจา) การจัดส่งสินค้าตัวอย่าง: ผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ต้องการจัดส่งสินค้าตัวอย่างให้คู่เจรจาธุรกิจสามารถส่งสินค้ามายังประเทศไทย และผู้ประสานงานจัดส่งให้กับคู่เจรจาธุรกิจก่อนเริ่มการเจรจา

สถานที่จัดแสดงตัวอย่างสินค้าที่สำนักงานบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด มีกำหนดเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป แต่อาจมีการปิดชั่วคราว เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด หากต้องการเข้าชมสินค้าตัวอย่าง กรุณาติดต่อผู้ประสาน งานล่วงหน้า เว็บไซต์งานเจรจาธุรกิจ: https://food.thai-japan.net/

สำหรับผลการจัดงานเจรจาธุรกิจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา
งานเจรจาธุรกิจครั้งที่ 1 และ 2 สามารถจับคู่เจรจาธุรกิจได้มากกว่า 400 คู่เจรจาทั้งสองครั้ง เนื่องด้วยวิธีการจัดกิจกรรมที่ทำให้การเจรจาธุรกิจสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ข้อมูลความสนใจของผู้ประกอบการในประเทศไทยผ่านทางเวปไซต์ เพื่อรับสมัครผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการในเบื้องต้น จากนั้นนำเสนอข้อมูลสินค้าของผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เข้าร่วมให้กับผู้ประกอบการในประเทศไทย เพื่อทำการนัดเจรจาธุรกิจ นอกจากนั้น ยังจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อขายจริงอีกด้วย เช่น การให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นก่อนเริ่มการเจรจาธุรกิจ การส่งตัวอย่างสินค้าจริงให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย เป็นต้น

จากผลของการจัดกิจกรรมข้างต้น สามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายสินค้า 1,113 รายการได้กว่า 2,000 ล้านเยน (ประมาณ 578 ล้านบาท รวมตัวเลขประมาณการณ์การซื้อขาย) คิดเป็น 5% ของมูลค่าการส่งออกวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นมายังประเทศไทยในปี 2563 ซึ่งมีมูลค่า 40,100 ล้านเยน (ประมาณ 11,400 ล้านบาท)

สรุปผลงานเจรจาธุรกิจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ครั้งที่ 1 วันที่ 5 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2564
ครั้งที่ 2 วันที่ 18 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564

จำนวนผู้เข้าร่วม
ครั้งที่ 1จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น141 บริษัท และจำนวนผู้ประกอบการไทย79 บริษัท
ครั้งที่ 2 จำนวนผู้ประกอบการญี่ปุ่น171 บริษัท และจำนวนผู้ประกอบการไทย103 บริษัท
รวมเป็นผู้ประกอบการญี่ปุ่น 312 บริษัท และผู้ประกอบการไทย 182 บริษัท

ผลการเจรจาธุรกิจ (ณ วันที่ 13 มกราคม 2565)

ครั้งที่ 1จำนวนคู่เจรจาธุรกิจ407 คู่, จำนวนสินค้าที่มีการซื้อขาย (รวมสินค้าที่ประมาณการณ์ซื้อขาย) 582 รายการ, มูลค่าการซื้อขาย (รวมมูลค่าประมาณการณ์ซื้อขาย) 1,095.67 ล้านเยน (ประมาณ 316 ล้านบาท), ตัวอย่างสินค้าที่จัดส่งให้ผู้ประกอบการไทย262 สินค้า (99 บริษัท)

ครั้งที่ 2 จำนวนคู่เจรจาธุรกิจ 420 คู่, จำนวนสินค้าที่มีการซื้อขาย (รวมสินค้าที่ประมาณการณ์ซื้อขาย) 531 รายการ, มูลค่าการซื้อขาย (รวมมูลค่าประมาณการณ์ซื้อขาย) 921.5 ล้านเยน (ประมาณ 266 ล้านบาท), ตัวอย่างสินค้าที่จัดส่งให้ผู้ประกอบการไทย167 สินค้า (65 บริษัท)

รวมทั้ง 2 ครั้งแรก จำนวนคู่เจรจาธุรกิจ 827คู่, จำนวนสินค้าที่มีการซื้อขาย (รวมสินค้าที่ประมาณการณ์ซื้อขาย) 1,113 รายการ, มูลค่าการซื้อขาย (รวมมูลค่าประมาณการณ์ซื้อขาย) ประมาณ 2,000 ล้านเยน (578 ล้านบาท), ตัวอย่างสินค้าที่จัดส่งให้ผู้ประกอบการไทย429 สินค้า (164 บริษัท)

ตัวอย่างสินค้าที่มีการซื้อขาย / ประมาณการณ์ซื้อขาย เช่น อาหารทะเลและอาหารทะเลแปรรูป (หอยโฮตาเตะ กุ้งโบตั๋น ไข่หอยเม่น หอยนางรม) เนื้อวะกิว เหล้าสาเกญี่ปุ่น เครื่องปรุง (โชยุ เหล้าประกอบอาหาร น้ำส้มยูสุ) ขนม ชา (มัจฉะ ชาข้าวบาร์เลย์คั่ว) เครื่องดื่มทั่วไป เป็นต้น

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/business